วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

อยากบอกแม่ว่า...

อยากบอกแม่ว่า..........

                 หนูดีใจมากค่ะที่ได้เกิดเป็นลูกแม่และในวันแม่ปีนี้หนูขอให้แม่มีความนสุขมากๆคิดอะไรก็ขอให้สมหวังขอให้พระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในโลกนี้คุ้มครองแม่ด้วยอยากบอกแม่ว่าหนูรักแม่มากนะค่ะและหนู
จะเป็นเด็กดีจะไม่ทำให้แม่เสียใจค่ะ



หนูรักแม่ค่ะ....



อาหารทะเล

อาหารทะเล









ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่อุดมสมบรูณ์ไปด้วยอาหารการกินอีกทั้งยังมีพื้นที่ติดกับทะเล  ทั้งทางภาคใต้ และทางภาคตะวันออกของประเทศ  ทำให้มีอาหารจากท้องทะเลมากกมาย  ทั้งกุ้ง หอย ปู ปลา ซึ่งอาหารทะเลเหล่านี้มีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายสารพัดและหนึ่งในนั้นก็คือสารอาหารที่รู้จักกันในชื่อ โอเมก้า 3 (Omega-3)
         โอเมก้า 3 คือ กรดไขมันชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์  พอมากในปลาทะเล  เช่น ปลาแซลม่อน ปลาแม็คเคอเรล (ที่เอามาทำปลากระป๋อง) ซึ่งให้น้ำมันปลาในบริเวณที่สูงมาก (“น้ำมันปลา” เป็นคนละประเภทกับน้ำมันตับปลา) จากการวิจัย  โอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันตั้งต้นที่จะสร้างเป็นกรดไขมันจำเป็นที่ชื่อว่า EPA (ย่อมาจาก EICOSAPANTAENOIC ACID ) และ DHA (ย่อมาจาก DOCOSAHEXANOIC ACID) ซึ่งล้วนแต่จำเป็นต่อการทำงานที่สมบรูณ์ต่อร่างกาย  ช่วยลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์  ลดการตัวของเกล็ดเลือด  ลดการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น และเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างเซลล์สมอง และทำให้ดวงตาทำงานได้ดี และ DHA ยังมีความสำคัญต่อการพัฒนาสมองและดวงตาของเด็กทารกในครรภ์อีกด้วย  เด็กที่ขาด DHA จะทำให้สมาธิสั้น  มัปัญหาด้านพฤติกรรม อารมณ์ และการเรียนรู้  และในขณะเดียวกัน  เมื่อเราอายุมากขึ้น  เนื้อเยื่อสมองก็จะเริ่มเสื่อมถอย  โอเมก้า 3 จะมีบทบาทช่วยซ่อมแซมเซลล์ประสาท  ลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์อีกด้วย  จึงถือว่าเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อคนในทุกเพศทุกวัยเลยทีเดียว

แม้ว่าปลาทะเลที่มาจากต่างประเทศจะมีราคาแพง  แต่คนไทยเราก็มีปลาทะเลคุณภาพที่ทดแทนกันได้  เช่น ปลาทู ปลากะพง ปลาอีกา ปลาตาเดียว ในเนื้อปลาทู 100 กรัม จะมีโอเมก้า 3 ราว 2-3 กรัม ซึ่งโดยปกติแล้ว คนเราต้องการโอเมก้า 3 เพียงประมาณ 3 กรัมต่อวัน  ในหนึ่งสัปกาห์เราควรกินปลาทะเลหรืออาหารทะเลชนิดอื่นๆ บ้างสัก 2-3 ครั้ง และกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์

เรื่องที่เราสนใจ

ผลไม้ไทยได้ประโยชน์

 


    ของดีของเมืองไทยนั้นมีอยู่มากมาย โดยเฉพาะผลไม้ไทย ที่ให้ทั้งประโยชน์ และคุณค่าทางโภชนาการต่อร่างกาย ในผลไม้แต่ละชนิดต่างมีรสชาติ กลิ่น และรูปร่างที่แตกต่างกัน ซึ่งผลไม้แต่ละชนิดก็จะใช้สารอาหาร แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นพลังงาน วิตามิน แร่ธาตุ น้ำ และเส้นใยอาหาร เป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย หากต้องการรับประโยชน์จากผลไม้อย่างเต็มที่ ... ควรรับประทานผลไม้สด และไม่ทิ้งไว้นาน หลังการปอก หรือหั่น หากเป็ยผลไม้ที่ผ่านกรรมวิธีถนอมอาหาร หรือนำมาเป็นขนมอบ จะทำให้ปริมาณสารอาหารลดลงได้ และถ้าจะให้ดี ต้องทานผลไม้ตามฤดูกาล เพราะผลไม้ในฤดูนั้นๆ จะออกดอกออกผลตามธรรมชาติ สามารถหาซื้อได้ง่าย และมีราคาถูก        ผลไม้ ... พลังบำบัดความสดชื่นจากธรรมชาติ การรับประทานผลไม้เป็นประจำ จะทำให้รู้สึกสดชื่น และมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว มีผิวพรรณที่เปล่งปลั่ง มีน้ำมีนวลอย่างเห็นได้ชัด ผลไม้ ... ยังเปี่ยมไปด้วยสรรคุณทรงคุณค่า ที่ช่วยป้องกันการเกิดโรค และกระตุ้นการทำงานของระบบต่างๆ ภายในร่างกาย รวมไปถึงการเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย

    นี่เป็นตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ ของผลไม้ไทย ... ได้ประโยชน์ เห็นมั๊ยคะว่า คนไทยนั้นมีของดีอยู่มากมาย ขึ้นอยู่กับว่า คุณจะนำของดีอย่าง ... ผลไม้ไทยเหล่านี้ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่างร่างกายหรือเปล่า ? คุณสมบัติของผลไม้ดีๆ ที่นอกเหนือจากรสชาติที่อร่อยนี้ หาได้ไม่ยาก ถ้าอย่างนั้น เรามาทำความรู้จักกับผลไม้ไทย ... ได้ประโยชน์กันดีกว่า







วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554


การจัดดอกไม
การจัดดอกไม้ ถือเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องอาศัยทักษะ ประสบการณ์ เพราะจะต้องใช้ดอกไม้ที่แตกต่างกันในหลากหลายสี การไล่โทน การนำเอาดอกไม้หรือใบไม้ ตลอดจนวัสดุต่าง ๆ มาจัดให้อยู่ในองค์ประกอบทางศิลปะ ซึ่งต้องมีความสัมพันธ์กัน และทำให้เกิดมุมมองที่สวยงามนับได้ว่าเป็นศิลปะและวิวัฒนาการที่สืบทอดกันมาช้านานการจัดดอกไม้โดยส่วนใหญ่นิยมจัดเลียนแบบดอกไม้สดธรรมชาต

หลักการจัดดอกไม้
สิ่งที่ต้องเตรียม
        1. ภาชนะสำหรับจัด หมายถึง ภาชนะสำหรับรองรับดอกไม้มีหลายชนิด เช่น แจกันรูปทรงต่าง ๆ เช่น กระบุง ตะกร้า ชะลอม
        2. ที่สำหรับรองภาชนะ เมื่อจัดดอกไม้เสร็จควรมีสิ่งรองรับเพื่อความสวยงาม ความโดดเด่นของแจกัน เช่นไม้ไผ่ขัดหรือสานเป็นแพ กระจก แป้นไม้
        3. กรรไกรสำหรับตัดแต่ง
        4. เครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น ลวด ทราย ดินน้ำมัน กระดาษสี ฟลอร่าเทปสีเขียว ก้านมะพร้าว ลวดเบอร์ 24 และ เบอร์ 30
        5. ดอกไม้ประดิษฐ์พร้อมใบไม้สำเร็จ
        6. เครื่องประกอบตกแต่ง เช่น กิ่งไม้ ขอนไม้ ตุ๊กตา ขดลวด เป็นต้น
ดอกไม้ที่ใช้
        1. เลือกดอกไม้ตามวัตถุประสงค์สำหรับงานนั้น ๆ
        2. ความทนทานของดอกไม้ประดิษฐ์
        3. ขนาด เลือกให้เหมาะกับภาชนะ สถานที่ตั้ง และแบบของการจัด
        4. การเลือกสี ต้องดูฉากด้านหลังและจุดประสงค์ว่าต้องการ กลมกลืน หรือตัดกัน
        5. ความนิยม เช่นดอกกุหลาบนิยมใช้ในงานมงคล ดอกบัวใช้บูชาพระ
สิ่งควรคำนึงในการจัด ดอกไม้
        1. สัดส่วน ควรให้ความสูงของดอกไม้พอดีกับแจกันเช่น แจกันทรงสูง ดอกไม้ดอกแรกควรสูง เท่ากับ 1.5 - 2 เท่าของความสูงของแจกัน สำหรับแจกันทรงเตี้ยดอกไม้ดอกแรกควรสูง เท่ากับ 1.5 - 2 เท่าของความกว้างของแจกัน
        2. ความสมดุยลควรจัดให้มีความสมดุลไม่หนักหรือเอียงข้างใดข้างหนึ่ง
        3. ความกลมกลืน เป็นหัวใจของการจัดต้องมีความสัมพันธ์ทุกด้านตั้งแต่ขนาดของแจกัน ความเล็กและใหญ่ของดอกไม้ ความมากน้อยของใบที่นำมาประกอบ
        4. ความแตกต่าง เป็นการจัดที่ทำให้สวยงามสะดุดตา เช่นจัดดอกไม้เล็ก ๆ และมีดอกใหญ่เด่นขึ้นมา
        5. ช่วงจังหวะ ช่วยให้ดอกไม้มีชีวิตมากขึ้น ควรไล่ขนาด ดอกตูม ดอกแย้ม จนถึงดอกบาน
        6. การเทียบส่วน เป็นความสัมพันธ์กับส่วนต่าง ๆ เช่น ดอกไม้ดอกเล็กควรใส่แจกันใบเล็ก ตลอดจนที่รองแจกันมีขาดเล็กด้วย
                                      


รูปแบบการจัดดอกไม้
การจัดดอกไม้โดยทั่ว ๆ ไปแบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้
        1. การจัดดอกไม้เลียนแบบธรรมชาติ ( เพื่อใช้เอง) เป็นการจัดดอกไม้แบบง่าย ๆ เพื่อประดับตกแต่งบ้าน โดยอาศัยความเจริญเติบโตของต้นไม้ ดอกไม้ กิ่งไม้ นำมาจัดลงภาชนะ โดยใช้กิ่งไม้ขนาดต่าง ๆ 3 กิ่ง การจัดดอกไม้แบบนี้ นิยมนำหลักการจัดดอกไม้จากประเทศญี่ปุ่นมาประยุกต์
        2. การจัดดอกไม้แบบสากล นิยมจัด 7 รูปแบบ คือ รูปทรงแนวดิ่ง ทรงกลม ทรงสามเหลี่ยมมุมฉากทรงสามเหลี่ยมด้านเท่า ทรงพระจันทร์คว่ำ ทรงพระจันทร์เสี้ยว ทรงตัวเอส
        3. การจัดดอกไม้แบบสมันใหม่ เป็นการจัดดอกไม้ที่มีรูปแบบอิสระ เน้นความหมายของรูปแบบบางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้ดอกไม้แต่อาจใช้วัสดุหรือภาชนะเป็นจุดเด่นเป็นการสร้างความรู้สึกให้ผู้พบเห็น การจัดดอกไม้แบบนี้ยังอาศัยหลักเกณฑ์ สัดส่วนและความสมดุลด้วย
การเตรียมดอกไม้ก่อนจัด
        1. ดอกไม้ ใบไม้ ที่ซื้อมาจากตลาดต้องนำมาพักไว้ในน้ำอย่างน้อย 45 นาที - 2 ชั่วโมง
        2. นำดอกไม้มาลิดใบที่ไม่สวย เหี่ยว หรือไม่จำเป็นออกไป
        3. ตัดก้านดอกไม้ใต้น้ำ หากก้านไม่แข็งให้ตัดตรง หากก้านแข็งให้ตัดเฉียงประมาณ 1 นิ้ว
        4. แช่ดอกไม้พักไว้ในน้ำมาก ๆ
        5. ดอกไม้ที่ซื้อมาค้างคืนให้ห่อด้วยใบตองหรือกระดาษ นำไปแช่ไว้ในถังน้ำ เพื่อไม่ให้ดอกบานเร็ว
หลักทั่วไปในการจัดแจกันดอกไม้
        1. หน้าที่และประโยชน์ใช้สอย ก่อนจัดควรจะทราบวัตถุประสงค์ในการจัดตกแต่งก่อนว่า จะใช้ในงานอะไร และจะจัดวางที่ไหน เช่น วางกลางโต๊ะ วางมุมโต๊ะ ชิดผลัก หรือแจกันติดผนัง เป็นต้น และควรดูด้วยว่า ลักษณะของห้องที่จะจัดวางเป็นห้องลักษณะแบบใด ทรงใด และขนาดเล็ก ปานกลางหรือใหญ่ เพื่อเราจะได้เลือกแจกันและดอกไม้ที่เหมาะสมกับห้องนั้น ๆ ด้วย
        2. สัดส่วน สัดส่วนเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่จะกำหนดว่าแจกันที่จัดเสร็จจะสวยหรือไม่สวย ถ้าสัดส่วนไม่สมดุลย์แจกันที่จัดออกมาก็ไม่สวย สิ่งที่ต้องคำนึง
        2.1 ภาชนะทรงเตี้ย ความสูงที่จัดควรเป็น 1.5-2 เท่า ของความกว้างของภาชนะ
        2.2 ภาชนะทรงสูง ความสูงที่จัดควรเป็น 1.5-2 เท่า ของความสูงของภาชนะ
        3. การเทียบส่วน ระหว่างดอกไม้กับแจกัน, แจกันกับขนาดของห้อง
        4. ความสมดุลย์ เป็นความถ่วงดุล เช่น ซ้ายขวาเท่ากัน หรือ สองข้างไม่เท่ากันแต่หนักไปทางใดทางหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้จัด
        5. การเลือกสี เส้นและขนาดให้แตกต่าง กัน เช่น สีกลาง อ่อน เส้นที่โค้งเรียว ขนาดดอกมีใหญ่เล็กเป็นต้น
        6. ความกลมกลืน คือ การเข้ากันอย่างสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ
        7. ความแตกต่าง เช่น สีของดอก ใบ และภาชนะที่มีสีแตกต่างกัน แต่ความแตกต่างไม่ควรเกิน 20%
        8. การสร้างจุดเด่น คือ จัดให้มีตัวเด่น ตัวรอง และให้มีการส่งเสริมกันและกัน
อ้างอิงที่มา:     www.jittraflorist.com/index.php?lay=show&ac=article